รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (Yellow Line) เป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เชื่อมโยงย่านฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปจนถึงย่านสำโรงบนถนนเทพารักษ์ รวมระยะทางประมาณ 30.4 กิโลเมตร ผ่านทั้งหมด 23 สถานี ซึ่งช่วยลดเวลาการเดินทางจากย่านลาดพร้าวสู่บางนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (23 สถานี)
- สถานีลาดพร้าว (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
- สถานีภาวนา
- สถานีโชคชัย 4
- สถานีลาดพร้าว 71
- สถานีลาดพร้าว 83
- สถานีมหาดไทย
- สถานีลาดพร้าว 101
- สถานีบางกะปิ (ใกล้เดอะมอลล์บางกะปิ, แม็คโคร)
- สถานีแยกลำสาลี (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม)
- สถานีศรีกรีฑา
- สถานีหัวหมาก (เชื่อมต่อแอร์พอร์ตเรลลิงก์)
- สถานีกลันตัน
- สถานีศรีนุช
- สถานีศรีนครินทร์ 38
- สถานีสวนหลวง ร.9 (ใกล้ซีคอนสแควร์, พาราไดซ์ พาร์ค)
- สถานีศรีอุดม
- สถานีศรีเอี่ยม (ใกล้วัดศรีเอี่ยม)
- สถานีศรีลาซาล
- สถานีศรีแบริ่ง
- สถานีศรีด่าน
- สถานีศรีเทพา
- สถานีทิพวัล
- สถานีสำโรง (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว)
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เชื่อมต่ออะไรได้บ้าง?
- สถานีลาดพร้าว เชื่อมต่อไปยัง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงท่าพระ-หลักสอง) ที่สถานีลาดพร้าว
- สถานีแยกลำสาลี เชื่อมต่อไปยัง รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ที่สถานีแยกลำสาลี
- สถานีหัวหมาก เชื่อมต่อไปยัง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ) ที่สถานีหัวหมาก
- สถานีสำโรง เชื่อมต่อไปยัง รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงคูคต-เคหะฯ) ที่สถานีสำโรง

เวลาเปิด-ปิด
รถไฟสายสีเหลืองเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 – 00.00 น. ของทุกวัน โดยขบวนแรกจะออกจากสถานีลาดพร้าวและสถานีสำโรงในเวลา 05.30 น. ส่วนขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีลาดพร้าวและสถานีสำโรงในเวลา 00.00 น. ส่วนความถี่ในการเดินรถ มีรายละเอียดดังนี้
วันจันทร์-วันศุกร์
- ในช่วงเวลาปกติ รถไฟฟ้าจะมาทุก ๆ 10 นาที (06.00-07.00 | 09.00-17.00 | 20.00-24.00)
- ในช่วงเวลาเร่งด่วน รถไฟฟ้าจะมาทุก ๆ 5 นาที (07.00-09.00 | 17.00-20.00)
วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
- ในทุกช่วงเวลา รถไฟฟ้าจะมาทุก ๆ 10 นาที
อัตราค่าโดยสาร
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท และสูงสุดที่ 45 บาท โดย 1-3 สถานีแรกจะบวกเพิ่มสถานีละ 4 บาท และหลักจากสถานีที่ 4 เป็นต้นไปจะบวกเพิ่มสถานีละ 3 บาท
ช่องทางการชำระค่าโดยสาร
- บัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว ซึ่งผู้โดยสารสามารถออกบัตรประเภทนี้ได้ที่ เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารหรือห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนผู้ที่มีสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐและต้องการออกบัตรโดยสาร ให้ยื่นบัตรประชาชนพร้อมแจ้งสถานีที่ต้องการไปที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร
- บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน หรือ บัตรแรบบิท
- บัตร EMV Contactless ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง บัตรเครดิตวีซ่า (VISA) และบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) รวมถึงบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทย ธนาคารยูโอบี และบัตรเดบิต Play Card ที่มีสัญลักษณ์ Contactless โดยการแตะบัตรที่เครื่อง EDC บริเวณประตูพิเศษ เพื่อเข้าและออกจากระบบรถไฟฟ้า