การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือกระบวนการที่บุคคลเปลี่ยนที่อยู่ตามทะเบียนบ้านจากบ้านเดิมไปยังบ้านหลังใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเข้าบ้านตนเอง บ้านญาติ หรือบ้านเช่า การดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยสามารถยื่นเรื่องได้ทั้งแบบออนไลน์และที่สำนักงานเขต/อำเภอ
รู้จัก “การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง” คืออะไร ใครบ้างที่ต้องทำ
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือ การที่ผู้ย้ายที่อยู่สามารถแจ้งย้ายออก หรือย้ายเข้าได้ทันทีที่สำนักทะเบียน ณ.ที่อยู่แห่งใหม่ โดยที่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งกับทางสำนักงานเขตในทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านปลายทางผู้ที่แจ้งย้ายควรดำเนินการด้วยตัวเองเพื่อความรวดเร็ว ทั้งนี้ การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางบ้านใหม่ สามารถทำได้พร้อมกันครั้งละไม่เกิน 3 คน ปัจจุบันสามารถย้ายทะเบียนบ้านแบบออนไลน์ได้อีกด้วย
ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านเข้า-ออก ต้องทำอย่างไรบ้าง
สำหรับการย้ายทะเบียนบ้านจากที่เก่าไปที่ใหม่จะต้องผ่านขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2 ขั้นตอนหลักคือ การย้ายออกจากบ้านหลังเดิม และย้ายเข้าบ้านหลังใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม
ขั้นตอนที่เจ้าบ้านหรือผู้ร่วมอาศัยที่ต้องการย้ายออกเพื่อที่จะย้ายเข้าทะเบียนบ้านปลายทาง และต้องดำเนินเรื่องภายใน 15 วันหลังจากย้ายออก มีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้
- สำเนาทะเบียนของเจ้าของบ้านพร้อมลายเซ็นเจ้าของบ้าน
- บัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน
- บัตรประชาชนของผู้ได้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าบ้านมอบอํานาจย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง)
- บัตรประชาชนของผู้ย้าย
- หนังสือมอบอำนาจของเจ้าบ้าน (กรณีที่ผู้ย้ายเป็นผู้อยู่อาศัยไม่ใช่เจ้าบ้าน และต้องมีลายเซ็นยินยอมในการมอบอำนาจจากเจ้าของบ้าน)
ขั้นตอนการย้ายออก
- เจ้าบ้านหรือผู้อาศัยที่ต้องการย้าย นำส่งเอกสารแจ้งย้ายให้กับนายทะเบียนในเขตบ้านเดิม
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร เพื่อรอยืนยันการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางถูกต้อง
- เมื่อได้รับการยืนยันย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านปลายทางเดิมแล้ว เจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมเอกสารแจ้งย้ายให้ผู้ยื่นเรื่องเพื่อนำไปส่งสำหรับขั้นตอนย้ายเข้าต่อไป
การย้ายทะเบียนบ้านเข้าอยู่ที่ใหม่
เมื่อย้ายออกจากทะเบียนบ้านปลายทางเดิมแล้ว ในการย้ายเข้าบ้านใหม่ที่อยู่ต่างเขตกัน ก็ต้องแจ้งเรื่องให้เจ้าหน้าที่เขตผู้ดูแลทะเบียนบ้านทราบภายใน 15 วัน หลังย้ายเข้าบ้านใหม่เช่นกัน โดยมีเอกสารและขั้นตอน ดังนี้
- ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ที่เจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าเรียบร้อยแล้ว
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านพร้อมลายเซ็น
- บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
- กรณีผู้ย้ายไม่ใช่เจ้าบ้านต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และมีลายเซ็นเพื่อเป็นการรับทราบยินยอมของทางเจ้าของบ้านแล้ว
- บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนการแจ้งย้ายเข้าที่อยู่ใหม่
- ผู้ย้ายที่อยู่ยื่นเอกสารที่เตรียมให้กับเจ้าหน้าที่ทะเบียนในเขตที่ย้ายเข้า
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องเอกสาร และยืนยันหลักฐานย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
- เมื่อยืนยันความถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการเพิ่มชื่อให้กับผู้ย้ายลงบนทะเบียนของเจ้าของบ้าน เป็นอันเสร็จขั้นตอน
การย้ายทะเบียนปลายทาง เอกสาร-ขั้นตอน มีอะไรบ้าง?

นอกจากการย้ายทะเบียนบ้านเข้า-ออก แล้ว กรณีที่ต้องการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางจะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วกว่า เพราะเป็นการทำเรื่องโอนย้ายได้จากเจ้าหน้าที่ทะเบียนในเขตที่ต้องการย้ายได้เลย โดยเอกสารและขั้นตอนที่ต้องใช้มีดังนี้
เอกสารการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านพร้อมลายเซ็น
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้านพร้อมลายเซ็น
- บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน
- กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้านหรือเจ้าบ้านมายืนยันเองไม่ได้ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจของเจ้าบ้านโดยเจ้าบ้านต้องมีการเซ็นยินยอมมอบอำนาจด้วย
- หนังสือมอบหมายจากผู้ย้าย พร้อมบรัตรประชาชนและสำเนาบัตรของผู้มอบและผูัรับมอบที่มีลายเซ็นลงนามเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้กรณีที่เป็นการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบต้องมีความเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือคนรู้จัก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
- เตรียมเอกสารให้เรียบร้อยก่อนยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนในเขตที่จะย้ายเข้า
- นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานเพื่อบันทึกรายการย้ายที่อยู่ หากไม่มีส่วนที่ต้องแก้ไข ผู้ยื่นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกำหนด
- เจ้าหน้าที่ทะเบียนบันทึกข้อมูล เป็นอันเสร็จขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
ต่อไปนี้คือเราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านปลายทางที่คำตอบมาให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
1. ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต้องไปเองไหม?
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมอบอํานาจ ให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ แต่มีคำแนะนำว่าควรเป็นคนที่รู้จักในฐานะครอบครัว ญาติ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ในการย้ายทะเบียนบ้านที่ปลายทางผ่านผู้อื่นจะต้องมีเอกสารมอบอำนาจ และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง ที่มีการลงนามรับทราบยินยอมจากเจ้าของบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนการยื่นเอกสาร
2. ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง มีค่าใช้จ่ายเท่าไร?
ในการทำเรื่องย้ายที่อยู่ปลายทาง มีค่าใช้จ่ายตามข้อกำหนดในมาตรา 30 วรรคสอง อยู่ที่ฉบับละ 20 บาท ทั้งนี้ข้อกำหนดระบุไว้ด้วยว่าต้องดำเนินการภายใน 15 วัน หลังจากย้ายออกหรือย้ายเข้าอยู่ หากเลยระยะเวลาดังกล่าว จะมีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
3. ผู้เยาว์สามารถทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ไหม?
การย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านปลายทางผู้ยื่นเรื่องจะต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องมีผู้ปกครองมาดำเนินการย้ายชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านปลายทาง โดยต้องแนบเอกสารใบสูติบัตรของบุตรทั้งตัวจริง และสำเนา บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา-มารดา ใบทะเบียนสมรส ใบทะเบียนการรับรองบุตร พร้อมลายเซ็นยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน
สรุป: ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ง่ายนิดเดียว
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงเตรียมเอกสารให้ครบ รับความยินยอมจากเจ้าบ้าน และดำเนินเรื่องที่สำนักงานเขตหรืออำเภอปลายทาง ก็สามารถเปลี่ยนที่อยู่ตามทะเบียนได้ภายในวันเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นฐาน ทำงาน เรียน หรือแต่งงานแล้วเปลี่ยนที่อยู่ถาวร
หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต/อำเภอใกล้บ้าน หรือเข้าเว็บไซต์ของกรมการปกครองได้ที่ https://www.bora.dopa.go.th