แอร์พอร์ตลิ้งค์ รามคำแหง จุดเชื่อมต่อการเดินทางใจกลางกรุงเทพฯ

แอร์พอร์ตลิ้งค์ รามคำแหง

รู้จักย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ให้มากขึ้น

ในอดีต ย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง มีถนนรามคำแหงเป็นถนนเส้นหลัก แต่ในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ถนนลาดพร้าว ถนนพระราม 9 ทำให้เดินทางไปยังหลายพื้นที่ได้สะดวก

นอกจากมีมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นศูนย์กลางของย่านแล้ว ในพื้นที่ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ยังมีสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) การกีฬาแห่งประเทศไทย ราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) วัดพระไกรสีห์ วัดเทพลีลา และมัสยิดอีกหลายแห่ง

ย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ในปัจจุบัน จัดได้ว่าเป็นย่านที่อยู่อาศัยและแหล่งค้าขายรายย่อย ส่วนแหล่งช้อปปิ้ง กลุ่มเดอะมอลล์เข้ามาปักธงย่านรามคำแหงมากถึง 4 สาขา ตั้งแต่สาขาแรกเมื่อ 34 ปีที่แล้ว จึงมีส่วนในการสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ให้กับพื้นที่แห่งนี้

แต่ปัจจุบันเดอะมอลล์ รามฯ 4 ซึ่งโรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รามคำแหงเช่าพื้นที่อยู่นั้น ได้ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เพื่อเวนคืนที่นำไปก่อสร้างเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน รามคำแหง 12 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนเดอะมอลล์ รามฯ 2 ปิดกิจการเช่นกัน เหลือเพียงเดอะมอลล์ รามฯ 3 ที่เปิดบริการบางส่วน เพื่อก่อสร้างใหม่ในรูปแบบ “มิกซ์ยูส” รองรับโอกาสของรถไฟฟ้าสายสีส้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) จำนวน 17 สถานี ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2572 นับเป็นเส้นทางที่คนในวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจอย่างมาก และประเมินว่าจะมีส่วนสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงย่านรามคำแหงอย่างมาก

สถานที่ตั้งของ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง

apl ramkhamhaeng

สถานี Airport Rail Link รามคำแหง ตั้งอยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก บริเวณจุดตัดถนนรามคำแหง ด้านตะวันตก ห่างจากสี่แยกคลองตัน ประมาณ 200 เมตร และห่างจากสี่แยกรามคำแหง ประมาณ 700 เมตร ในพื้นที่แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ โดยมีรายละเอียดทางเข้า-ออก สถานี ดังนี้

ทางออกสถานที่ใกล้เคียง
ทางออก 1ถนนรามคำแหง (ฝั่งมุ่งหน้าแยกรามคำแหง), อาคารยูเอ็มทาวเวอร์, โชว์รูมวอลโว่ รามคำแหง, ป้ายหยุดรถสุขุมวิท 71
ทางออก 2ถนนรามคำแหง (ฝั่งมุ่งหน้าแยกพัฒนาการ), โรงแรมนาซ่าเวกัส
ทางออก 3ท่าเรือคลองแสนแสบ (ท่าเรือรามหนึ่ง), โรงแรมนิราศบางกอก รามคำแหง

สถานที่สำคัญใกล้เคียงกับ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง

นอกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว ย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ยังมีสถานที่สำคัญและน่าสนใจอีกมากมาย ดังนี้

– ตลาดคลองตัน แหล่งซื้อขายอาหารสด ของผู้คนในย่านนี้และพื้นที่ใกล้เคียง ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 350 เมตร

– มัสยิดคลองตัน สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 650 เมตร

– มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยของรัฐบาลในระบบเปิดที่รับนักศึกษาโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกและเป็นศูนย์กลางของย่านนี้ ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 2 กิโลเมตร

– มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ เอแบค เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่มีหลักสูตรนานาชาติ ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 3.6 กิโลเมตร

– สนามกีฬาหัวหมาก เป็นศูนย์กีฬาหลักของการกีฬาแห่งประเทศไทย มักใช้แข่งกีฬาสำคัญ ๆ รวมถึงจัดงานคอนเสิร์ตอยู่บ่อยครั้ง ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 3.3 กิโลเมตร

– เดอะมอลล์ รามคำแหง 3 แหล่งช้อปปิ้งจับจ่ายใช้สอย ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 2.5 กิโลเมตร

Airport Rail Link Ramkamheang

การเดินทางในย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง

เนื่องจากย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง เป็นแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ที่มีผู้คนจำนวนมากอาศัย ทำงาน และศึกษาในย่านนี้ จึงทำให้การจราจรค่อนข้างหนาแน่น แต่ยังมีตัวเลือกที่หลากหลายเพื่อช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง

รถไฟฟ้า

ปัจจุบันมีเพียงสถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง เท่านั้นที่เปิดให้บริการ โดยมีต้นทางอยู่ที่พญาไทและไปสิ้นสุดปลายทางที่สุวรรณภูมิ จึงช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่ต้องการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองหรือเพื่อเชื่อมต่อกับสนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างรวดเร็ว

ในอนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าวิ่งผ่านย่านนี้หลายสาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางกะปิ รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 9 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-พัฒนาการ โดยมีสถานีประดิษฐ์มนูธรรมเป็นสถานี interchange กับสายสีเทา และมีสถานีลำสาลีเป็นสถานี interchange กับสายสีเหลือง

รถเมล์

– รถเมล์สาย 1-13 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ-คลองตัน (สาย 126 เดิม)

– รถเมล์สาย 1-29 บางเขน-ม.รามคำแหง (สาย 95 เดิม)

– รถเมล์สาย 3-40 ถนนตก-แฮปปี้แลนด์ (สาย 22 เดิม) 

– รถเมล์สาย 3-21 ม.รามคำแหง 2-ม.รามคำแหง (สาย 207 เดิม)

– รถเมล์สาย 1-44 มีนบุรี-หัวลำโพง (สาย 113/สาย 58 เดิม)

– รถเมล์สาย 1-38 สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (สาย 60 เดิม)

– รถเมล์สาย 1-39 สวนสยาม-คลองเตยสายเทียบเคียง (สาย 71 เดิม)

– รถเมล์สาย 1-41 เคหะร่มเกล้า-แฮปปี้แลนด์สายเทียบเคียง : (สาย 92 เดิม) 

– รถเมล์สาย 1-45 สวนสยาม-บางรัก (สาย 115/สาย 109 เดิม)

– รถเมล์สาย 1-53 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง-ท่าช้างสายเทียบเคียง (สาย 501/สาย 508 เดิม) 

– รถเมล์สาย 2-26 ท่าเรือนนทบุรี-พัฒนาการ (สาย 545 เดิม) 

รถตู้

หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงจะมีคิวรถตู้อยู่หลายจุด สามารถเดินทางไปได้หลายที่ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล ตัวอย่างของปลายทางที่มีให้บริการ ได้แก่ ราม 2 ดอนเมือง ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ขนส่งสายใต้ รามอินทรา กม.2 พระราม 9 เป็นต้น

รถสองแถว

ย่านนี้มีรถสองแถววิ่งให้บริการอยู่จำนวนไม่น้อย เกือบทั้งหมดวิ่งรับ-ส่งจากถนนรามคำแหงแล้วเข้าไปตามซอยเล็ก ๆ คิวรถสองแถวที่สำคัญ คือ คิวสองแถว ราม 24 สามารถเดินทางไปเดอะไนน์ เดอะมอลล์บางกะปิ แฮปปี้แลนด์ พัฒนาการ เป็นต้น

วินมอเตอร์ไซค์

เนื่องจากเป็นย่านที่มีซอยย่อยค่อนข้างมาก จึงมีวินมอเตอร์ไซค์ให้บริการจำนวนมากด้วยเช่นกัน เริ่มจากหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้วไล่ไปตามจุดต่าง ๆ ที่สำคัญ ทั้งเดอะมอลล์รามคำแหง ซอยราม 24 เดอะมอลล์บางกะปิ แยกลำสาลี เป็นต้น

เรือ

ที่นี่มีท่าเรือให้บริการหลายจุด ได้แก่ วัดเทพลีลา ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยรามคำแหง เดอะมอลล์บางกะปิ สะพานมิตรมหาดไทย และซอยรามคำแหง 29

ถนนเส้นหลักและทางพิเศษ

แม้ว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ในย่านนี้จะค่อนข้างติดขัดไปบ้าง แต่ก็เป็นตัวเลือกที่สะดวกสบายสำหรับการเข้าออกซอยต่าง ๆ หรืออยู่ในพื้นที่ระบบขนส่งสาธารณะเข้าไม่ถึง โดยถนนหลักและเส้นอื่นโดยรอบมีดังนี้

– ถนนรามคำแหง

– ถนนพัฒนาการ

– ถนนประชาอุทิศ

– ถนนหัวหมาก

– ถนนศรีนครินทร์

– ถนนกรุงเทพกรีฑา

– ถนนลาดพร้าว

– ถนนพระราม 9

– ทางพิเศษ ได้แก่ ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษฉลองรัช

Share the Post:

รีวิวคอนโด อุดมสุข

รีวิวบ้าน อุดมสุข

อัพเดตล่าสุด