รู้จักย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ให้มากขึ้น
ในอดีต ย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง มีถนนรามคำแหงเป็นถนนเส้นหลัก แต่ในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ถนนลาดพร้าว ถนนพระราม 9 ทำให้เดินทางไปยังหลายพื้นที่ได้สะดวก
นอกจากมีมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นศูนย์กลางของย่านแล้ว ในพื้นที่ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ยังมีสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) การกีฬาแห่งประเทศไทย ราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) วัดพระไกรสีห์ วัดเทพลีลา และมัสยิดอีกหลายแห่ง
ย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ในปัจจุบัน จัดได้ว่าเป็นย่านที่อยู่อาศัยและแหล่งค้าขายรายย่อย ส่วนแหล่งช้อปปิ้ง กลุ่มเดอะมอลล์เข้ามาปักธงย่านรามคำแหงมากถึง 4 สาขา ตั้งแต่สาขาแรกเมื่อ 34 ปีที่แล้ว จึงมีส่วนในการสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ให้กับพื้นที่แห่งนี้
แต่ปัจจุบันเดอะมอลล์ รามฯ 4 ซึ่งโรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รามคำแหงเช่าพื้นที่อยู่นั้น ได้ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เพื่อเวนคืนที่นำไปก่อสร้างเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน รามคำแหง 12 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนเดอะมอลล์ รามฯ 2 ปิดกิจการเช่นกัน เหลือเพียงเดอะมอลล์ รามฯ 3 ที่เปิดบริการบางส่วน เพื่อก่อสร้างใหม่ในรูปแบบ “มิกซ์ยูส” รองรับโอกาสของรถไฟฟ้าสายสีส้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) จำนวน 17 สถานี ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2572 นับเป็นเส้นทางที่คนในวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจอย่างมาก และประเมินว่าจะมีส่วนสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงย่านรามคำแหงอย่างมาก
สถานที่ตั้งของ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง

สถานี Airport Rail Link รามคำแหง ตั้งอยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก บริเวณจุดตัดถนนรามคำแหง ด้านตะวันตก ห่างจากสี่แยกคลองตัน ประมาณ 200 เมตร และห่างจากสี่แยกรามคำแหง ประมาณ 700 เมตร ในพื้นที่แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ โดยมีรายละเอียดทางเข้า-ออก สถานี ดังนี้
ทางออก | สถานที่ใกล้เคียง |
---|---|
ทางออก 1 | ถนนรามคำแหง (ฝั่งมุ่งหน้าแยกรามคำแหง), อาคารยูเอ็มทาวเวอร์, โชว์รูมวอลโว่ รามคำแหง, ป้ายหยุดรถสุขุมวิท 71 |
ทางออก 2 | ถนนรามคำแหง (ฝั่งมุ่งหน้าแยกพัฒนาการ), โรงแรมนาซ่าเวกัส |
ทางออก 3 | ท่าเรือคลองแสนแสบ (ท่าเรือรามหนึ่ง), โรงแรมนิราศบางกอก รามคำแหง |
สถานที่สำคัญใกล้เคียงกับ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง
นอกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว ย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง ยังมีสถานที่สำคัญและน่าสนใจอีกมากมาย ดังนี้
– ตลาดคลองตัน แหล่งซื้อขายอาหารสด ของผู้คนในย่านนี้และพื้นที่ใกล้เคียง ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 350 เมตร
– มัสยิดคลองตัน สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 650 เมตร
– มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยของรัฐบาลในระบบเปิดที่รับนักศึกษาโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกและเป็นศูนย์กลางของย่านนี้ ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 2 กิโลเมตร
– มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ เอแบค เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่มีหลักสูตรนานาชาติ ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 3.6 กิโลเมตร
– สนามกีฬาหัวหมาก เป็นศูนย์กีฬาหลักของการกีฬาแห่งประเทศไทย มักใช้แข่งกีฬาสำคัญ ๆ รวมถึงจัดงานคอนเสิร์ตอยู่บ่อยครั้ง ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 3.3 กิโลเมตร
– เดอะมอลล์ รามคำแหง 3 แหล่งช้อปปิ้งจับจ่ายใช้สอย ห่างจาก แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง 2.5 กิโลเมตร

การเดินทางในย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง
เนื่องจากย่าน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง เป็นแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ที่มีผู้คนจำนวนมากอาศัย ทำงาน และศึกษาในย่านนี้ จึงทำให้การจราจรค่อนข้างหนาแน่น แต่ยังมีตัวเลือกที่หลากหลายเพื่อช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง
รถไฟฟ้า
ปัจจุบันมีเพียงสถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รามคำแหง เท่านั้นที่เปิดให้บริการ โดยมีต้นทางอยู่ที่พญาไทและไปสิ้นสุดปลายทางที่สุวรรณภูมิ จึงช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่ต้องการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองหรือเพื่อเชื่อมต่อกับสนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างรวดเร็ว
ในอนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าวิ่งผ่านย่านนี้หลายสาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางกะปิ รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 9 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-พัฒนาการ โดยมีสถานีประดิษฐ์มนูธรรมเป็นสถานี interchange กับสายสีเทา และมีสถานีลำสาลีเป็นสถานี interchange กับสายสีเหลือง
รถเมล์
– รถเมล์สาย 1-13 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ-คลองตัน (สาย 126 เดิม)
– รถเมล์สาย 1-29 บางเขน-ม.รามคำแหง (สาย 95 เดิม)
– รถเมล์สาย 3-40 ถนนตก-แฮปปี้แลนด์ (สาย 22 เดิม)
– รถเมล์สาย 3-21 ม.รามคำแหง 2-ม.รามคำแหง (สาย 207 เดิม)
– รถเมล์สาย 1-44 มีนบุรี-หัวลำโพง (สาย 113/สาย 58 เดิม)
– รถเมล์สาย 1-38 สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (สาย 60 เดิม)
– รถเมล์สาย 1-39 สวนสยาม-คลองเตยสายเทียบเคียง (สาย 71 เดิม)
– รถเมล์สาย 1-41 เคหะร่มเกล้า-แฮปปี้แลนด์สายเทียบเคียง : (สาย 92 เดิม)
– รถเมล์สาย 1-45 สวนสยาม-บางรัก (สาย 115/สาย 109 เดิม)
– รถเมล์สาย 1-53 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง-ท่าช้างสายเทียบเคียง (สาย 501/สาย 508 เดิม)
– รถเมล์สาย 2-26 ท่าเรือนนทบุรี-พัฒนาการ (สาย 545 เดิม)
รถตู้
หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงจะมีคิวรถตู้อยู่หลายจุด สามารถเดินทางไปได้หลายที่ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล ตัวอย่างของปลายทางที่มีให้บริการ ได้แก่ ราม 2 ดอนเมือง ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ขนส่งสายใต้ รามอินทรา กม.2 พระราม 9 เป็นต้น
รถสองแถว
ย่านนี้มีรถสองแถววิ่งให้บริการอยู่จำนวนไม่น้อย เกือบทั้งหมดวิ่งรับ-ส่งจากถนนรามคำแหงแล้วเข้าไปตามซอยเล็ก ๆ คิวรถสองแถวที่สำคัญ คือ คิวสองแถว ราม 24 สามารถเดินทางไปเดอะไนน์ เดอะมอลล์บางกะปิ แฮปปี้แลนด์ พัฒนาการ เป็นต้น
วินมอเตอร์ไซค์
เนื่องจากเป็นย่านที่มีซอยย่อยค่อนข้างมาก จึงมีวินมอเตอร์ไซค์ให้บริการจำนวนมากด้วยเช่นกัน เริ่มจากหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้วไล่ไปตามจุดต่าง ๆ ที่สำคัญ ทั้งเดอะมอลล์รามคำแหง ซอยราม 24 เดอะมอลล์บางกะปิ แยกลำสาลี เป็นต้น
เรือ
ที่นี่มีท่าเรือให้บริการหลายจุด ได้แก่ วัดเทพลีลา ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยรามคำแหง เดอะมอลล์บางกะปิ สะพานมิตรมหาดไทย และซอยรามคำแหง 29
ถนนเส้นหลักและทางพิเศษ
แม้ว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ในย่านนี้จะค่อนข้างติดขัดไปบ้าง แต่ก็เป็นตัวเลือกที่สะดวกสบายสำหรับการเข้าออกซอยต่าง ๆ หรืออยู่ในพื้นที่ระบบขนส่งสาธารณะเข้าไม่ถึง โดยถนนหลักและเส้นอื่นโดยรอบมีดังนี้
– ถนนรามคำแหง
– ถนนพัฒนาการ
– ถนนประชาอุทิศ
– ถนนหัวหมาก
– ถนนศรีนครินทร์
– ถนนกรุงเทพกรีฑา
– ถนนลาดพร้าว
– ถนนพระราม 9
– ทางพิเศษ ได้แก่ ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษฉลองรัช